ระเบียบวาระที่  ๔     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๔.๒ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่  ๑๐  ประจำเดือนมิถุนายน  ๒๕๖๔
 
สรุปเรื่อง  
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น
                   ๑. โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ ได้ให้ผู้จัดการพื้นที่ ดำเนินการจัดทำรายงานโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบไปด้วย แบบเสนอแผนงาน (กนผ.๐๑)  แบบสรุปงบประมาณจำแนกตามโครงการ กิจกรรม (กนผ.๐๒) และแบบเสนอขออนุมัติกิจกรรม (กนผ.๐๔) ซึ่งขณะนี้ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยหมดแล้ว
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยดำเนินกิจกรรม พิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (VALAYA LAND) ในวันพฤหัสบดีที่ ๑  กรกฎาคม  ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ อาคารเรียนรวมวิทยาศาสตร์ ชั้น ๕ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจากท่าน ชัยวัฒน์  ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี  มาร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้
                        มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U๒T) ซึ่งได้รับงบประมาณในการดำเนินการ ของแต่ละพื้นที่ จำนวน ๒๖๐,๐๐๐ บาท (สองแสนหกหมื่นบาทถ้วน) จำนวน ๔๘ พื้นที่ จำนวน ๓ จังหวัดคือ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระแก้ว รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๒,๔๘๐,๐๐๐ บาท (สิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกระดับภูมิภาค การแข่งขันแฮกกาธอน (U๒T Hackathon ๒๐๒๑) ภาคตะวันออก ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้ว ให้ประเทศ : U๒T) ในวันพุธที่ ๗  กรกฎาคม  ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น ๓ อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหา ของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
                    
                    ๒. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย๗ (University System Integration : USI)
 
                    ๓. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                        
                    ๔. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบล
                            
                     โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่าย การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล
                                                                           
                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู
                    ๖. โครงการยกระดับการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่พื้นที่จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว นั้น ในการนี้มหาวิทยาลัย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายและแก้ปัญหาด้านการศึกษาของนักเรียนในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ นั้น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  ขอรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนพฤษภาคม  ๒๕๖๔  ดังนี้
                        ในเดือนกรกฎาคม – เดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ มหาวิทยาลัยขอความร่วมมือผู้จัดการพื้นที่ (AM) และโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา ดำเนินการดังนี้
                        ๑. จัดทำและส่งมอบแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ฉบับสมบูรณ์ จำนวนอย่างน้อย ๑๖ แผน ภายในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
                        ๒. จัดทำและส่งมอบชุดนวัตกรรมต้นแบบ Teacher Tool Kits (TTK) จำนวนอย่างน้อย ๒ ชุด ภายในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔    
                        ๓. จัดทำและส่งมอบรายงานผลการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลการพัฒนาผู้เรียน  ด้วยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และชุดนวัตกรรม TTK ภายในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔  
                        ๔. มหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดประกวดเพื่อค้นหาสื่อนวัตกรรม (TTK) ดีเด่น ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๔   
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
            
                    ๗. โรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้
                         
                    . โครงการสนับสนุนสื่อวีดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
                                                                    
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา
                    . โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ ๒๑
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
                    ๑๐. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)
        
                    ๑๑. โครงการ VRU Mindset
 
                    ๑๒. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏ                 
                         
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
    -
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................